กฏหมายสำหรับผู้บังคับปั้นจั่น
กฎหมายสำหรับผู้บังคับปั้นจั่น
หน้า ๔๑ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖
กรกฎาคม ๒๕๕๔ ประกาศกรมสวัสดการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒ กําหนดให้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
ผ่านการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว และต้องจัดให้มีการอบรม หรือทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด อาศัยอํานาจตามความในข้อ
๖๖ แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการ จัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการกําจัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ มาตรา ๔๑ และมาตรา
๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผ้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับปั้นจั่นทุกชนิดที่มีขนาดพิกัดการยกอย่างปลอดภัย (Safe
working load) ตามที่ผู้ผลิตกําหนดตั้งแต่ ๑ ตันขึ้นไป ข้อ ๔
ในประกาศนี้
“ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า
ผู้ซึ่งมีหน้าที่บังคับการทํางานของปั้นจั่นให้ทํางานตามความต้องการ
“ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า
ผู้ที่ทําหน้าที่ใช้สัญญาณมือหรือสัญญาณ สื่อสารชนิดอื่นกับผู้บังคับปั้นจั่น
“ผู้ยึดเกาะวัสดุ” หมายความว่า
ผู้ทําหน้าที่ผูก มัด หรือเกี่ยววัสดุที่ให้ปั้นจั่นยก
“ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น” หมายความว่า
ผู้ทําหน้าที่อํานวยการใช้ หรือสั่งการ ให้ผู้บังคับ ปั้นจั่นปฏิบัติตาม
ตลอดจนพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทําการยก หน้า ๔๒ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ หมวด ๑ หลักเกณฑ์ วิธีการฝึกอบรม ข้อ ๕
ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณ แก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับ ปั้นจั่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กําหนดไว้ในประกาศนี้
ให้นายจ้างจัดทําทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน
เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อ วิทยากรเก็บไว้
ณ สถานประกอบกิจการหรือสํานักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงาน ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๖
ในการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับ ปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น ผู้จัดฝึกอบรมต้องดําเนินการ
ดังนี้
(๑)
แจ้งกําหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการ จัดฝึกอบรม
(๒)
จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กําหนด
(๓)
จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๖๐ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
(๔) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม ข้อ ๗ ผู้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น
ต้องจัดให้มี ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกินหกสิบคนต่อวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน
และในการทดสอบ ภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนและปั้นจั่นหนึ่งเครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน ยี่สิบคน ข้อ ๘
ในการทดสอบภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการทดสอบภาคปฏิบัติ ในสถานที่จริง หรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง ข้อ ๙
ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่นไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง กรณีหนึ่งกรณีใดดังนี้
(๑) ผู้ผ่านการอบรมและทํางานมาแล้วเป็นระยะเวลา ๒
ปี
(๒) เมื่อมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้นหรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเกี่ยวกับปั้นจั่นในสถานที่ทํางาน
(๓)
เมื่อมีการนําปั้นจั่นชนิดหรือลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน หมวด ๒ หลักสูตรการฝึกอบรม ข้อ ๑๐
หลักสูตรการฝึกอบรมในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น มีดังต่อไปนี้ หน้า ๔๓ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖
กรกฎาคม ๒๕๕๔
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น
(๒)
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ
(๓) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น
(๔) หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่น ข้อ ๑๑ หลักสูตรการฝึกอบรมที่กําหนดไว้ตามข้อ ๑๐
ในการฝึกอบรมความรู้พื้นฐาน ภาคทฤษฎี
มีกําหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ๖ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชา ที่อบรม ดังนี้
(๑)
กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น
และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒
(๒)
มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย
(๓)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น
(๔)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก
(๕) บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น
(๖)
ความปลอดภัยในการทํางาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น ข้อ ๑๒ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ
ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่น ชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น
ต้องประกอบด้วย
(๑) ภาคทฤษฎี
มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชา ที่อบรม ดังนี้
(๑.๑)
ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑
(๑.๒)
ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
(๑.๓)
ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch
(๑.๔)
การใช้สัญญาณมือ
(๑.๕)
วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
(๑.๖)
การประเมินน้ําหนักสิ่งของ
(๑.๗)
การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบํารุงรักษาตามระยะเวลา
(๒)
การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการ ทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กําหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อ ๑๓ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บงคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ
เรือปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย
(๑) ภาคทฤษฎี
มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมี เนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้
(๑.๑)
ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑
(๑.๒)
ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น หน้า ๔๔ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔
(๑.๓)
ระบบการไฮดรอลิกเบื้องต้น
(๑.๔)
ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น
(๑.๕)
ระบบสัญญาณเตือนและ Limit switch
(๑.๖)
การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร
(๑.๗)
การอ่านค่าตารางพิกัดยก
(๑.๘)
การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
(๑.๙)
วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
(๑.๑๐)
การประเมินน้ำหนักสิ่งของ
(๑.๑๑)
การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบํารุงรักษาตามระยะเวลา
(๒) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
ซึ่งต้องมีการ ทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กําหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อ ๑๔ หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น
ผู้ยึดเกาะวัสดุ ต้องประกอบด้วย
(๑) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชา ที่อบรม ดังนี้
(๑.๑)
ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑
(๑.๒)
การใช้สัญญาณมือ
(๑.๓)
การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก
(๑.๔)
วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย
(๑.๕)
การประเมินน้ําหนักสิ่งของ
(๒) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
ซึ่งต้องมีการ ทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด
การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย ข้อ ๑๕
หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย
(๑) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง
ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชา ที่อบรม
ดังนี้
(๑.๑)
ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑
(๑.๒)
การใช้สัญญาณมือ
(๑.๓) วิธีผูก
มัดและการยกเคลื่อนย้าย
(๑.๔)
การประเมินน้ําหนักสิ่งของ
(๒) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง
ซึ่งต้องมีการ ทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทําการยกโดยกําหนด ลักษณะรูปร่าง วัสดุของสิ่งของที่จะยก หน้า ๔๕ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๗๔ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ข้อ ๑๖
หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องมีหัวข้อวิชา และระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ดังต่อไปนี้
(๑)
กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น
และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒
(๒)
กิจกรรมกลุ่มกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่นและความสูญเสียรวมทั้งนําผล การสอบสวนอุบัติเหตุมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนป้องกัน
(๓)
ความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่น
กรณีที่นําปั้นจั่นชนิดหรือประเภทที่แตกต่างจากเดิม มาใช้งาน หมวด ๓ วิทยากรฝึกอบรม ข้อ ๑๗
วิทยากรผู้ทําการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมเครื่องกล หรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า ๑ ปี
(๒) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์หรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน
ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้า หรือเทียบเท่า
หรือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพ ซึ่งมีประสบการณ์ในการ ทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่นไม่น้อยกว่า ๓ ปี หรือมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า
๓ ปี
(๓) ช่างชํานาญการ
ซึ่งมีประสบการณ์ในการทํางานเกี่ยวกับปั้นจั่นและหัวข้อที่บรรยาย ไม่น้อยกว่า ๕ ปี
(๔) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ
ซึ่งมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า ๑ ปี ประกาศ ณ
วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ อัมพร
นิติสิริ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน